วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปสงค์ อุปทาน

อุปสงค์และอุปทาน


จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply) เป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ใช้สำหรับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนของสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน ในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค เรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานของแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากมักจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับแบบจำลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบตลาดในฐานะที่มันได้อธิบายกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่เกิดขึ้น แต่สำนักนีโอคลาสสิกได้โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปกติที่เรียกว่า ดุลยภาพทั่วไป
อุปสงค์
อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยจะต้องมีทั้งความต้องการที่จะซื้อ และความสามารถในการซื้อ จากกฏอุปสงค์ กล่าวว่า เมื่อปัจจัยอื่นๆคงที่แล้ว อุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้านั้นจะลดลง อุปสงค์สามารถแสดงได้โดยเส้นกราฟและสมการคณิตศาสตร์ โดยเส้นกราฟจะมีความชันลาดลง ปัจจัยที่กำหนดปริมาณอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละคนได้แก่ ราคาสินค้านั้น รายได้ของผู้บริโภค รสนิยมส่วนบุคคล ราคาของสินค้าทดแทน (substitution goods) และราคาของสินค้าใช้ร่วมกัน (complementary goods) แม้ว่าเส้นกราฟอุปสงค์ของสินค้าส่วนใหญ่ จะมีลักษณะความชันลาดลง ก็ได้มีการยกตัวอย่างถึงสินค้าที่เส้นกราฟดีมานด์มีลักษณะชันขึ้น โดยเรียกสินค้านั้นว่าสินค้ากิฟเฟน (Giffen good) อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่ในสินค้ากิฟเฟนในความเป็นจริงก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
อุปทาน
อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเสนอขาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ปัจจัยหลักที่กำหนดปริมาณอุปทานคือราคาตลาดและต้นทุนการผลิต จากกฏอุปทาน กล่าวว่า โดยทั่วไปปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น แรงงานก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ ปริมาณอุปสงค์ของแรงงานจะลดลง ภาวะดุลยภาพ

เมื่อปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน จะเรียกว่าตลาดอยู่ในภาวะดุลยภาพ (equilibium) โดยที่ภาวะนี้การกระจายสินค้าและบริการจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายจะเท่ากับปริมาณความต้องการสินค้านั้น จากกราฟ จุดดุลยภาพคือจุดที่เส้นกราฟอุปสงค์และอุปทานตัดกัน เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น เรียกว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น หรือเรียกว่าเกิดอุปทานส่วนเกิน (excess supply) กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ
การเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟอุปสงค์และอุปทาน

การเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานมีขึ้นได้ในสองลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ และการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ การเปลี่ยนแปลงบนเส้นกราฟ คือการเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานไปยังจุดต่างๆบนเส้นกราฟเดิม เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยอื่นๆนอกจากราคาและปริมาณนั้นคงที่ หากมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟ หมายความว่าที่ระดับราคาเดิม ปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานมีความเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากราคา เช่น การเปลี่ยนแปลงของรสนิยมผู้บริโภค หรือการค้นพบวิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เป็นต้น จากกราฟ จะเห็นว่า เส้นกราฟของอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2
ความยืดหยุ่น สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน วิธีหนึ่งในการหาความยืดหยุ่นคือการนำร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของแต่ละตัวแปรมาหารกัน เรียกว่าความยืดหยุ่นแบบช่วง ซึ่งต่างจากความยืดหยุ่นแบบจุดที่ใช้แคลคูลัสในการหาความเปลี่ยนแปลงที่จุดๆหนึ่ง ความยืดหยุ่นที่นิยมนำมาพิจารณาได้แก่ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา เรียกว่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา (price elasticity of demand) และความยืดหยุ่นอุปทานต่อราคา (price elasticity of supply) โดยความยืดหยุ่นชนิดนี้ ใช้ในการวางแผนของผู้ผลิตในการกำหนดราคา รวมถึงการวางแผนของรัฐบาลในการวางแผนการเก็บภาษี นอกจากนั้นแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งตัวคือรายได้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (income elasticity of demand) จะวัดความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ของสินค้าที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงของรายได้ของผู้บริโภค ความยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีการนำมาพิจารณาเรียกว่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ (cross elasticity of demand) ซึ่งแสดงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์ที่มีต่อราคาของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักจะใช้ในการศึกษา
http://th.wikipedia.org

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก